ข่าวประชาสัมพันธ์
ครม.ไฟเขียวกฤษฎีกาบูรณาการร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับ ‘ศธ.-สมัชชาเครือข่ายครูฯ’ ก่อนเสนอรัฐสภา
เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 ผู้สื่อข่าว สำนักข่าว EdunewsSiam รายงานความคืบหน้าร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติว่า ตามที่สมัชชาเครือข่ายครูและบุคลากรทางการศึกษาแห่งประเทศไทย ( ส.ค.ค.ท.) โดยมี ดร.ดิเรก พรสีมา เป็นประธานสมัชชา ส.ค.ค.ท. ได้นำเสนอร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ...ไปยัง นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา และต่อมารัฐสภาได้เสนอร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ดังกล่าวไปยังรัฐบาล ![]() และ ครม.ได้มีมติเห็นชอบ และมอบหมายให้เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกานำร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติทั้งสองฉบับไปบูรณาการเข้าด้วยกัน แล้วส่งกลับไปให้ ครม.พิจารณาอีกครั้ง ก่อนเสนอไปยังรัฐสภาเพื่อให้มีการพิจารณาร่วมสองสภาต่อไป โดยในขั้นตอนการพิจารณาของกฤษฎีกาดังกล่าวนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลด้านการศึกษา ได้ให้แนวทางว่าให้ตัวแทนของภาคประชาชนคือ สคคท.เข้าร่วมประชุมพิจารณาด้วย เพื่อการบูรณาการกฎหมายเข้าด้วยกัน ดังนั้น ดร.ดิเรก ประธานสมัชชา ส.ค.ค.ท. จึงได้ส่งหนังสือเชิญประชุมแกนนำและสมาชิกสมัชชา สคคท.ร่วมหารือกันในวันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 นี้ เวลา 09.30-12.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 2 อาคาร 33 วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร เพื่อให้การบูรณาการร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติทั้งสองฉบับเข้าด้วยกันอย่างราบรื่น และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการศึกษาของประเทศ ![]() อนึ่ง ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ทำเนียบรัฐบาล คณะกรรมการขับเคลื่อนเพื่อการปฏิรูปการศึกษา และสมัชชา ส.ค.ค.ท. นำโดยนายศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รองประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) เข้าร่วมประชุมกับ พล.อ.ประยุทธ์ และทีมการศึกษาของรัฐบาล เรื่องร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ![]() ![]() พร้อมนำเสนอประเด็นความต้องการสำคัญ 5 ประการ ได้แก่ 1.เรื่องคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา รวมถึงการจัดการศึกษาในอนาคต 2.เรื่องเอกภาพในการบริหารจัดการศึกษา ไม่ซ้ำซ้อนในการบริหาร และต้องมีธรรมาภิบาล 3.เรื่องการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ต้องเน้นเรื่องระบบคุณธรรม 4.เรื่องการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาลงสู่สถานศึกษา การให้คงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา และการมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา และ 5.เรื่องนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา โดยให้มีกองทุนครูแห่งแผ่นดิน และกองทุนเทคโนโลยีทางการศึกษา |
เปิดโทษ ฝ่าฝืนประกาศ 'โควิด-19'
"ธนพร"รื้อคดีทุจริตสกสค.มูลค่าเสียหายพันล.หลังพบคนผิดเจอโทษแค่ประมาท
![]() 4 ม.ค.64-“ธนพร” เอาจริง หลังพบคดีทุจริต สกสค. บางเคสมูลค่าเสียหายเป็นพันล้าน แต่พิจารณาโทษแค่เป็นการประมาทเลินเล่อ พร้อมสั่งรื้อกระบวนการใหม่หมด คาดดันเข้าระบบยุติธรรมได้ภายใน เม.ย.นี้ นายธนพร สมศรี เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (เลขาฯ สกสค.) กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินการคดีทุจริตต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสำนักงาน สกสค. ว่า ขณะนี้ สกสค.ได้ดำเนินการจัดลำดับกระบวนการการดำเนินการคดีต่างๆ ที่จะดำเนินการในทางทุจริตเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะมีคดีหลักอยู่ประมาณ 5 คดี เนื่องจากที่ผ่านมากระบวนการดำเนินการคดีทุจริตภายใน สกสค.บางเรื่องไม่ตรงกับประเด็นข้อเท็จจริง คือ บางคดีมีมูลค่าความเสียหายเป็น 1,000 ล้านบาท แต่มีการพิจารณาโทษเป็นเพียงแค่ความประมาทเลินเล่อ ดังนั้นตนจึงหารือร่วมกับคณะผู้บริหาร สกสค.ชุดใหม่ เพื่อที่จะนำในลักษณะนี้กลับมาพิจารณาอีกครั้ง โดยวิธีการในการดำเนินคดีและผลของคดีก็จะแตกต่างจากเดิมอย่างสิ้นเชิง อีกทั้งหลายๆ คดีอาจจะมุ่งไปสู่กระบวนการทางกฎหมายอาญา โดยตนคาดว่าจะผลัดดันคดีต่างๆ ให้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมภายในเดือนเมษายนนี้ นายธนพร กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ตนให้ความสำคัญกับการทุจริตที่เกี่ยวข้องกับ สกสค.ในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่สังคมให้ความสนใจ หรือแม้แต่เรื่องการทุจริตภายในองค์กรของ สกสค.เอง โดยเมื่อเร็วๆ นี้ ตนได้ลงนามตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรง เจ้าหน้าที่ของ สกสค. จำนวน 1 ราย และได้ย้ายเจ้าหน้าที่คนดังกล่าวไปยังหน่วยงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับการสอบสวนคดีด้วย รวมถึงตนได้มีการจัดการบุคลากรภายในของ สกสค.ให้มีความสามารถ และทักษะความรู้ตรงกับหน้าที่ที่ปฏิบัติด้วย ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก ไทยโพสต์ วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2564 https://www.kroobannok.com/88668 |
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการชักธงชาติในสถานศึกษา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563
เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2564 เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการชักธงชาติในสถานศึกษา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการชักธงชาติในสถานศึกษา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563
----------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการชักธงชาติ ในสถานศึกษา พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการชักธงชาติในสถานศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 ในส่วนของการชักและประดับธงชาติ ณ สถานศึกษา ในโอกาสและวันพิธีสำคัญ ให้มีความสอดคล้องกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการใช้ การชัก หรือการแสดงธงชาติและธงของต่างประเทศในราชอาณาจักร พ.ศ. 2529 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการใช้ การชัก หรือการแสดงธงชาติและธงของต่างประเทศในราชอาณาจักร (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2562 อาศัยอำนาจตามความในข้อ 12 วรรคหนึ่ง (4) แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการใช้ การชัก หรือการแสดงธงชาติ และธงของต่างประเทศในราชอาณาจักร พ.ศ. 2529 กระทรวงศึกษาธิการ จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการชักธงชาติในสถานศึกษา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563”
ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 7 ของระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการชักธงชาติในสถานศึกษา พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการชักธงชาติในสถานศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 7 ในโอกาสและวันพิธีสำคัญ ให้ชักและประดับธงชาติ ณ สถานศึกษา ตามกำหนดวันและระยะเวลา ดังต่อไปนี้
(1) วันขึ้นปีใหม่ วันที่ 1 มกราคม 1 วัน
(2) วันมาฆบูชา 1 วัน
(3) วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ วันที่ 6 เมษายน 1 วัน
(4) วันสงกรานต์ วันที่ 13 เมษายน 1 วัน
(5) วันฉัตรมงคล วันที่ 4 พฤษภาคม 1 วัน
(6) วันพืชมงคล 1 วัน
(7) วันวิสาขบูชา 1 วัน
(8) วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี วันที่ 3 มิถุนายน 1 วัน
(9) วันอาสาฬหบูชา 1 วัน
(10) วันเข้าพรรษา 1 วัน
(11) วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว วันที่ 28 และวันที่ 29 กรกฎาคม 2 วัน
(12) วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และวันแม่แห่งชาติ วันที่ 12 สิงหาคม 1 วัน
(13) วันพระราชทานธงชาติไทย วันที่ 28 กันยายน 1 วัน
(14) วันสหประชาชาติ วันที่ 24 ตุลาคม 1 วัน
(15) วันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ วันที่ 5 และวันที่ 6 ธันวาคม 2 วัน (16) วันรัฐธรรมนูญ วันที่ 10 ธันวาคม 1 วัน
การชักและประดับธงชาติในโอกาสหรือวันพิธีสำคัญอื่นๆ ให้เป็นไปตามที่ทางราชการจะประกาศให้ทราบเป็นครั้งคราว ส่วนการชักและประดับธงชาติในงานพิธีสำคัญอื่นๆ ตามประเพณีนิยม ให้ปฏิบัติต่อธงด้วยความเคารพ”
ประกาศ ณ วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
https://www.kroobannok.com/88670 |
อินโฟกราฟิก (Infographic)
อินโฟกราฟิก อินโฟกราฟิก หรือ อินฟอร์เมชันกราฟิก เป็นการแสดงผลของข้อมูลหรือความรู้โดยภาพที่อ่านและเข้าใจง่าย งานกราฟิกประเภทนี้นิยมใช้สำหรับข้อมูลที่มีความซับซ้อน ตัวอย่างเช่น ป้าย แผนที่ งานวิจัย โดยอินโฟกราฟิกนี้ยังคงนิยมใช้ในสายงานด้าน วิทยาการคอมพิวเตอร์ คณิตศาสตร์ สถิติศาสตร์ เพื่อให้แสดงถึงข้อมูลที่ซับซ้อนให้ง่ายขึ้น |
ไฟล์แบบประเมินพฤติกรรมจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และใบสมัครคัดเลือกบุคคลดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา
แบบประเมินพฤติกรรมจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และใบสมัครคัดเลือกบุคคลดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา ตามประกาศคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดพะเยา เรื่องรับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี พ.ศ. 2561 (ดาวน์โหลดด้านล่าง)
![]() |
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๖๑
![]() ประกาศฉบับดังกล่าวระบุว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๖ ประกอบกับมาตรา ๒๘ มาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๗ และมาตรา ๔๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เหตุผลและความจําเป็นในการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติสามารถดําเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพอันจะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ซึ่งการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติทําหน้าที่รัฐสภา สำหรับเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฉบับนี้ คือ โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติหน้าที่และอํานาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ในการจัดให้มีมาตรการหรือแนวทางที่จะทําให้การปฏิบัติหน้าที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เกิดความรวดเร็ว สุจริต และเที่ยงธรรม รวมทั้งได้เปลี่ยนแปลงคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม ตลอดจนวาระการดํารงตําแหน่งไว้ อีกทั้งได้บัญญัติให้รัฐมีหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุน และให้ความรู้แก่ประชาชนถึงอันตรายที่เกิดจากการทุจริตและประพฤติมิชอบทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน และจัดให้มีมาตรการและกลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบดังกล่าวอย่างเข้มงวดตามมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญ จึงเป็นการสมควรบัญญัติกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตขึ้นใหม่ให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญน สำหรับสาระสำคัญของพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว กำหนดให้ข้าราชการต้องยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สิน ประกอบด้วย มาตรา ๑๐๒ ในการดําเนินการตามมาตรา ๒๘ (๓) อย่างน้อยคณะกรรมการ ป.ป.ช. ต้องกําหนดให้ผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้ ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. (๑) ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง (๒) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (๓) ผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระ (๔) ข้าราชการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ซึ่งดํารงตําแหน่งตั้งแต่อธิบดีผู้พิพากษาขึ้นไป (๕) ข้าราชการตุลาการศาลปกครองตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง ซึ่งดํารงตําแหน่งตั้งแต่อธิบดีศาลปกครองชั้นต้นขึ้นไป (๖) ข้าราชการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการซึ่งดํารงตําแหน่งตั้งแต่อธิบดีอัยการขึ้นไป (๗) ผู้ดํารงตําแหน่งระดับสูง (๘) ตําแหน่งอื่นตามที่กฎหมายอื่นกําหนดให้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน (๙) ผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิกสภาท้องถิ่น ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กําหนด ส่วนมาตรา ๑๓๐ ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ไม่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินตามมาตรา ๔๒ มาตรา ๑๐๓ และมาตรา ๑๕๘ ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อหัวหน้าส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือ หน่วยงานของรัฐที่ตนสังกัดหรือปฏิบัติงานอยู่ ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา บทบัญญัติตามวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มิได้มีเงินเดือนและตําแหน่งประจําในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐตามวรรคหนึ่งดํารงตําแหน่งหลายตําแหน่ง ให้ยื่นบัญชีทรัพย์สินสําหรับตําแหน่งที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นประจําเพียงตําแหน่งเดียว บัญชีทรัพย์สินและหนี้สินที่ยื่นตามวรรคหนึ่ง ให้เก็บรักษาไว้ที่หน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นสังกัดอยู่ และให้ถือเป็นความลับในราชการที่จะเปิดเผยมิได้เว้นแต่จะส่งมอบให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ร้องขอ หรือเมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. กําหนดให้ผู้ดํารงตําแหน่งนั้นต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินตามมาตรา ๑๐๓ หรือเมื่อมีกรณีที่จะต้องดําเนินการสอบสวนทางวินัยแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้น ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐย้ายไปสังกัดหน่วยงานของรัฐแห่งใหม่ ให้หน่วยงานของรัฐที่ผู้นั้นสังกัดอยู่เดิมส่งมอบบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของผู้นั้นให้แก่หน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นไปสังกัดใหม่ ทั้งนี้ ภายในสามเดือนนับแต่วันที่เจ้าหน้าที่ผู้นั้นพ้นจากหน่วยงานของรัฐนั้น ระยะเวลาการยื่น แบบรายการ หลักเกณฑ์ วิธีการยื่นและการเก็บรักษาบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา ซึ่งต้องคํานึงถึงการตรวจสอบได้ ความสะดวก และไม่สร้างภาระจนเกินจําเป็น ในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจะยกเว้นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่จ้างมาเป็นการชั่วคราว หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐบางประเภท ให้ไม่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินตามวรรคหนึ่งก็ได้ สำหรับมาตรา ๑๕๘ ให้ พนักงานเจ้าหน้าที่ตั้งแต่ระดับผู้อํานวยการกองขึ้นไป ผู้ช่วยพนักงานไต่สวน พนักงานไต่สวน หัวหน้าพนักงานไต่สวน และพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีตําแหน่งและหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ รวมท้ังทรัพย์สินที่มอบหมายให้อยู่ในความครอบครองหรือดูแลของบุคคลอื่นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อตรวจสอบและเปิดเผยผลการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน ในการตรวจสอบดังกล่าว เพื่อให้เกิดธรรมาภิบาลและเป็นการป้องกันการขัดกันแห่งผลประโยชน์ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. กําหนดระเบียบมอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินเป็นการเฉพาะก็ได้ นอกจากนี้ มาตรา ๒๐๐ กำหนดว่า ในวาระเริ่มแรก เพื่อมิให้เกิดภาระเกินสมควร ในการตราพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา ๑๓๐ จะกําหนดการเริ่มใช้บังคับกับเจ้าหน้าที่ของรัฐแต่ละระดับหรือแต่ละประเภทแตกต่างกันตามที่เห็นสมควรก็ได้ ผู้รับสนองพระราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตร คลิกอ่าน พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๖๑ ฉบับเต็ม ที่นี่ |
แนวทางการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ การอำนวยความสะดวก ในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558
![]() เพื่อให้การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 ของหน่วยงานของรัฐเป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย สำนักงาน ก.พ.ร. จึงได้จัดทำหนังสือเวียนไปยังหน่วยงานต่างๆของรัฐ เพื่อซักซ้อมความเข้าใจแนวทางการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ให้หน่วยงานของรัฐทราบและถือปฏิบัติ ตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม 2558 เป็นต้นไป โดยมี รายละเอียด ดังนี้ 1. ผู้มีอำนาจต้องมีคู่มือสำหรับประชาชนไว้บริการประชาชนตามที่กฎหมายหรือกฎกำหนดทุกเรื่อง พร้อมทั้งปิดประกาศคู่มือสำหรับประชาชนไว้ ณ สถานที่ที่กำหนดให้ยื่นคำขอทุกแห่งและเผยแพร่ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วย 2. เมื่อมีประชาชนมายื่นคำขอ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่รับคำขอจะต้องตรวจสอบคำขอและรายการเอกสารหรือหลักฐานที่ยื่นมาพร้อมคำขอว่าถูกต้องครบถ้วนตามที่คู่มือสำหรับประชาชนกำหนดหรือไม่ หากเห็นว่าไม่ถูกต้องครบถ้วนให้แจ้งผู้ยื่นคำขอแก้ไขทันที (เรียกได้ครั้งนี้ครั้งเดียว หากเลยระยะเวลานี้แล้วจะเรียกไม่ได้) กรณีผู้ยื่นคำขอไม่สามารถแก้ไขได้ทันทีให้จัดทำบันทึกสองฝ่ายประกอบด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่และผู้ยื่นคำขอ โดยในบันทึกสองฝ่ายให้บันทึกความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานที่จะต้องยื่นเพิ่มเติม พร้อมทั้งกำหนดระยะเวลาที่ผู้ยื่นคำขอจะต้องดำเนินการ (ระยะเวลาให้ถามจากผู้ยื่นคำขอ) และหากผู้ยื่นคำขอไม่แก้ไขความบกพร่องหรือส่งเอกสารเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่ตกลงไว้ในบันทึกสองฝ่าย ให้พนักงานเจ้าหน้าที่คืนคำขอให้แก่ผู้ยื่นคำขอพร้อมทั้งแจ้งเป็นหนังสือถึงเหตุแห่งการคืนคำขอด้วย ทั้งนี้ ผู้ยื่นคำขอจะอุทธรณ์หรือยื่นคำขอใหม่ก็ได้ 3. เมื่อผู้ยื่นคำขอแนบเอกสารครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในคู่มือสำหรับประชาชนแล้ว หรือได้ส่งเอกสารเพิ่มเติมตามบันทึกสองฝ่ายแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะเรียกเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมอีกไม่ได้ เว้นแต่เป็นกรณีที่ความไม่สมบูรณ์หรือความไม่ครบถ้วนนั้นเกิดจากความประมาทเลินเล่อหรือทุจริตของพนักงานเจ้าหน้าที่ และเป็นผลไม่อาจอนุญาตได้ ให้ผู้อนุญาตสั่งการตามที่เห็นสมควร และให้ดำเนินการทางวินัยหรือดำเนินคดีกับพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องโดยไม่ชักช้า 4. ผู้อนุญาตต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่คู่มือสำหรับประชาชนกำหนดและแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบภายในเจ็ดวันนับแต่ วันที่พิจารณาแล้วเสร็จ (กรณีเป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งคือวันที่ผู้มีอำนาจลงนาม หรือกรณีเป็นอำนาจของคณะกรรมการคือวันที่คณะกรรมการมีมติ) 5. กรณีผู้อนุญาตดำเนินการไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่คู่มือกำหนด ให้ผู้อนุญาตแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบถึงเหตุแห่งการล่าช้าทุกเจ็ดวันจนกว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จ และส่งสำเนาให้ ก.พ.ร. ทราบทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ทุกครั้ง 6. กรณีผู้อนุญาตไม่แจ้งตามข้อ 4 และ ข้อ 5 ให้ถือว่าผู้อนุญาตกระทำความผิดตามมาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญา เว้นแต่จะเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย 7. ผู้อนุญาตมีหน้าที่ในการกำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางการตรวจสอบการประกอบกิจการหรือการดำเนินกิจการของผู้ได้รับอนุญาตให้เป็นไปตามที่กฎหมายว่าด้วย การอนุญาตฉบับนั้นๆ กำหนด และให้ผู้อนุญาตมีหน้าที่ต้องตรวจสอบและสั่งการตามหลักเกณฑ์และแนวทางการตรวจสอบดังกล่าวด้วย 8. ส่วนราชการต่างๆ จะต้องจัดให้มีศูนย์บริการร่วมเพื่อรับคำขอและชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการอนุญาตต่างๆ ตามกฎหมายว่าด้วยการอนุญาตไว้ ณ ที่เดียวกัน ตามแนวทางที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการกำหนด โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการจะแจ้งเวียนแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวอีกครั้งหนึ่ง 9. สำนักงาน ก.พ.ร. ได้จัดตั้งศูนย์อำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของสำนักงาน ก.พ.ร. ขึ้น เพื่อรับข้อร้องเรียนกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ปฏิบัติตามที่ พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 กำหนด โดยประชาชนสามารถติดต่อและร้องเรียนเรื่องดัวกล่าวด้วยตนเองได้ที่ ศูนย์อำนวยความสะดวกฯ สำนักงาน ก.พ.ร. เบอร์โทรศัพท์ 1111 กด 22 แนวทางการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ
การอำนวยความสะดวก ในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 |
1-10 of 31